การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศมี4ขั้นตอน
1.)การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
1.1) สิ่งที่โจทย์ต้องการ ได้แก่
การวิเคราะห์จากโจทย์ว่าสิ่งที่โจทย์ต้องการนั้นคืออะไรสามารถแยกได้
1.2) การระบุข้อมูลที่ต้องส่งออก ได้แก่
การพิจารณาเป้าหมายสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
1.3) การระบุข้อมูลนำเข้า ได้แก่
การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
1.4) การกำหนดตัวแปร ได้แก่ ตัวเก็บค่าต่างๆ
ในการทำงาน
1.5) การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่
การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบ
2)การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
เป็นขั้นตอนการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
หลังจากที่ทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาข้อมูล
เงื่อนไขที่มีอยู่และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่1แล้ว
จะสามารถคาดคะเนวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา
ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก หากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาในลักษณะนี้มาแล้ว
จะสามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา
3) การดำเนินการแก้ปัญหา
เป็นขั้นตอนแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้ เช่น
คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จ หรือการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรม
ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ผู้แก้ปัญหาจึ่งต้องศึกษาให้เข้าใจ
มีความรู้ความสามารถในการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดีละในคณะดำเนินการ
หากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม
4) การตรวจสอบและการปรับปรุง
เป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา
เช่น ข้อมูลรับเข้า ข้อมูลส่งออก หรือไม่
เพื่อให้มั่นได้ว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในกรณีที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ในขณะเดียวกันต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น