วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

เรื่อง HTML

1.) HTML  


1.1.)HTML ย่อมาจากอะไร
ตอบ HTML ย่อมากจาก HyperText Markup Language

1.2.)หมายถึง
HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup language หมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง

2.) รูปแบบการใช้คำสั่ง  

โครงสร้างพื้นฐานของภาษา HTML จะมีรูปแบบ ดังนี้
<HTML>
<HEAD>
ชุดคำสั่งต่างๆ
</HEAD>
<BODY>
ชุดคำสั่งต่างๆ
</BODY>
</HTML>

             1. จะเห็นว่าทุกคำสั่งจะมีคำสั่งเปิด <…> และคำสั่งปิด </…> เสมอ นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนเว็บนั้นจะลืมไม่ได้คือ เมื่อเปิดคำสั่งแล้วต้องมีคำสั่งปิดเสมอ
             2. การใช้อักษรภาษา HTML นั้นจะสามารถใช้ได้ทั้งตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ เช่น <HTML> หรือ <html> เป็นต้น
             3.การใส่รายละเอียดหรือข้อมูลต่อท้ายคำสั่งย่อยนั้นต้องมีเครื่องหมาย “....” เสมอ เช่น <body background= “green”> เป็นต้น
             4. คำสั่งย่อยๆ นั้นจะอยู่ภายใน <…> ของคำสั่งหลักเสมอ เช่น <FONT size= “2”>
             ต่อไปเป็นการอธิบายความหมายและการใช้คำสั่งต่างๆของภาษา HTML  และคำสั่งของภาษา HTML นั้น ในที่นี้จะเรียกว่า “แท็ก มีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้

<HTML>
สำหรับ <HTML> นั้นเป็นคำสั่งหรือแท็กแรกในภาษาHTML ซึ่งเป็นคำสั่งที่แสดงให้รู้ว่า ไฟล์นี้เป็นไฟล์ HTMLซึ่งจะใช้ <HTML> ที่บรรทัดบนสุดและ </HTML>เป็นการปิดคำสั่ง HTML ซึ่งจะไว้ที่บรรทัดสุดท้าย เพื่อแสดงว่าจบไฟล์

<HEAD>
สำหรับแท็ก <HEAD> เป็นส่วนหัวของไฟล์ที่ใช้ใส่แท็กต่างๆ เช่น <TITLE>, <META>, <!DOCTYPE> เป็นต้น ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ถูกเรียกมาก่อนส่วนอื่นๆ และจะไม่แสดงผลออกทาง Browser

<BODY>
สำหรับแท็กนี้เป็นส่วนที่เริ่มต้นส่วนที่เป็นคำสั่งต่างๆ ที่จะแสดงยัง Browser ซึ่งข้อมูลทุกอย่างของเราที่จะนำมาแสดงต้องใส่ไว้ภายใต้คำสั่งนี้เท่านั้น





วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

เรื่อง ภาษาคอมพิวเตอร์

เรื่อง ภาษาคอมพิวเตอร์


1.)ความหมาย

ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกันแล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรมแต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้นและมีภาษาอื่นๆที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เอชทีเอ็มแอล เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วยแม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรมหรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือภาษาระดับสูง(high level) และภาษาระดับต่ำ (low level)





2.)ภาษาคอมพิวเตอร์มีกี่ระดับอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง

1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)


 เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)เป็นต้น

- ภาษาเครื่อง (Machine Language)
 ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก
- Assembly Language 
ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะทำงานโดยขึ้นกับรุ่นของไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "หน่วยประมวลผล" (CPU) ของเครื่องคอมพิวเตอร์การใช้ภาษาแอสเซมบลีจำเป็นต้องผ่านการแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์เฉพาะเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (assembler) ให้อยู่ในรูปของรหัสคำสั่งก่อน (เช่น .OBJ) 




2. ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) 

เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็วเหมือนกับภาษาระดับต่ำ สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ 

- ภาษาซี 
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร(scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์



3.ภาษาระดับสูง (High Level Language)

 เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของการใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า Interpreterหรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compiler  เช่น 

ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัดเป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ 


แหล่งอ้างอิง
http://boonraong.blogspot.com/2011/02/3.html

https://pingkoxz.wordpress.com

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่4 เรื่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์
             โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่งหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ เราจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่ง  ซึ่งต้องสั่งเป็นขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า "โปรแกรม"   แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.โปรแกรมระบบ
ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (OS : Operating System) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่คอยดูแลระบบ รวมทั้งติดต่อกับฮาร์ดแวร์ส่วนต่างๆ ควบคุมการทำงานของคีย์บอร์ด จอภาพ ระบบอ่านและบันทึกข้อมูล ทำให้ผู้ใช้และผู้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ ไม่ต้องเขียนโปรแกรมติดต่อกับระบบเอง ซึ่งแบ่งแต่ละโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
1.1)  OS (Operating System)
                 คือโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วน ต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นควบคุมหน่วยความจำควบคุมหน่วยประมวลผลควบคุม หน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์มาทำงานได้อย่างเต็มที่
1.2 ) Translation Program
                คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรม หรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่องหรือภาษาเครื่องที่ไม่ เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น ภาษาBASIC,COBOL,C,PASCAL, FORTRAN,ASSEMBLYเป็นต้น
.1.3) โปรแกรมประยุกต์  Utility Program
คือโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2 ชุดด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูล เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ทำงานในด้านนี้ ได้แก่Pctools,Sidekick,PKZIP,PKUNZIP Norton Utility เป็นต้น

ตัวอย่างโปรแกรมระบบเช่น

- โปรแกรม Window 8
          Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัท ไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่ง ใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส  ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม มีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น


- โปรแกรม UNIX
          เป็นระบบปฏิบัติการที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bellสร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์   และเมนเฟรม   ใช้ในการควบคุมการทำงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก   ดังนั้นยูนิกซ์    จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่    และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถนำยูนิกซ์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
2.โปรแกรมอเนกประสงค์
 โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอักชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2 ชุดเข้าด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูลเป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาหรือวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งตรวจสอบระบบได้อีกด้วย โดยมีโปรแกรมที่ทำงานหลายประเภท
เช่น

ตัวอย่างโปรแกรมอเนกประสงค์

- โปรแกรม McAfee Virus Scan
โปรแกรมตรวจสอบไวรัส  McAfeee เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากเพราะมีความสะดวกใช้งานง่ายและใช้เนื้อที่ไม่มากในการบันทึกไฟล์โปรแกรม สามารถตรวจสอบไวรัสได้หลายหมื่นชนิดอีกทั้งบริษัทยังได้เปิดเว็บไซต์ สำหรับเปิดให้ปรับไฟล์โปรแกรมให้เป็นปัจจุบัน (Update) อยู่เสมอและไม่ให้ล้าสมัยอยู่ตลอดเวลา ในการปรับจะเป็นการปรับไฟล์ที่มีสกุล dat ซึ่งเป็นไฟล์ฐานข้อมูลสำหรับรับรู้ไวรัสทั้งหมด


- โปรแกรม WinZip
WinZip ตัวนี้นั้นก็ถือเป็น โปรแกรมบีบอัดไฟล์ ที่เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมของผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต (Internet) ทุกคนอยู่แล้ว เพราะถือเป็น ผู้พัฒนา โปรแกรมบีบอัดไฟล์ เจ้าแรกๆ เลยก็ว่าได้ มันถูกพัฒนาโดยบริษัท WinZip Computing จากเมือง แมนส์ฟิลด์ (Mansfield) รัฐคอนเนตทิคัต (Connecticut) ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)


3.โปรแกรมประยุกต์
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (General Purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ การออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

ตัวอย่างโปรแกรมเอนกประสงค์

-     โปรแกรมบัญชี TRCLOUD
TRCLOUD คือโปรแกรมบัญชีระบบคลาวด์ ให้ผู้ประกอบสามารถทำงานกับทีมภายใต้ฐานข้อมูลเดียว ทำให้งบการเงินเป็นงบการเงินที่ทันต่อเหตุการณ์ (RealTime) และแสดงอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของธุรกิจซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบริหารธุรกิจโดย TRCLOUD ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายแม้ผู้ใช้งานจะไม่ใช่ผู้เชียวชาญ โปรแกรมบัญชีแบบคลาวด์นี้ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องลงโปรแกรม มีความสะดวกรวดเร็วสามารถใช้กับ คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนได้TRCLOUD ยังมีระบบออกบิล ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ และยังลงบัญชีให้โดยอัตโนมัติ เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ไม่เชี่ยวชาญบัญชี  อีกทั้งยังสามารถจัดพิมพ์ รายงานทางบัญชีต่างๆ เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน รายงานภาษีขาย 

- โปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด
ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) คือโปรแกรมประเภท word processor ที่ใช้เหมาะสำหรับการพิมพ์รายงาน พิมพ์จดหมาย หรือจะใช้สำหรับแต่งนิยายก็ยังได้ เป็นหนึ่งในโปรแกรม ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง หลากหลายเวอร์ชั่น แต่อย่างไรก็ตาม โดยหลักการ ถ้าเราศึกษาไมโครซอฟท์เวิร์ดเวอร์ชั่นใดเวอร์ชั่นหนึ่ง เราก็จะสามารถเรียนรู้เวอร์ชั่นอื่นๆ ได้ค่อนข้างง่าย เพราะส่วนใหญ่เวอร์ชั่นใหม่ๆ ก็จะการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเพิ่มเติมเสียมากกว่าการลบออกไป

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 3 การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม

การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม

1.การเขียนรหัสจำลอง ( Pseudo Code )
ตอบ  การเขียนรหัสจำลอง หมายถึง การเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันทีแต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้โครงสร้างของรหัสจำลองเริ่มต้นด้วยข้อความBeginแล้วอธิบายขั้นตอนการทำงานโดยใช้คำสั่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรมการเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ภายในโปรแกรมด้วย
การสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (= )  แทนการกำหนดค่าตัวแปร 
ตัวอย่าง
การแสดงผลข้อมูล
การแสดงผลข้อมูลสามารถใช้คำสั่ง Print , Prompt, Write
print  variables_1 ,variables_2, variables_3
prompt variables_1 ,variables_2, variables_3
write variables_1 ,variables_2, variables_3
PRINT และ PROMPT ใช้สำหรับการพิมพ์ค่าข้อมูล หรือข้อความ WRITE ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล
ตัวอย่าง
        Prompt " Enter 3 Value ==> "
        Input Value1 , Value2 , Value3
        Sum = Value1 + Value2 + Value3
        Print Sum
        Open Student _file
        Input Id, Name, Address, Sex

        Write Id, Name, Address, Sex

2.) การเขียนผังงาน ( Aowchart )
ตอบ  การเขียนผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ มี 2 ประเภท คือ ผังงานระบบ และผังงานโปรแกรม

ผังงานระบบ (System Flowchart)
            จะแสดงภาพรวมของระบบ เน้นแสดงเฉพาะสื่อที่ทำหน้าที่นำข้อมูลเข้าและออก โดยจะไม่แสดงถึงรายละเอียดวิธีการประมวลผล ซึ่งจะนำไปแสดงไว้ในส่วนของผังงานโปรแกรมแทน
ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )
            การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน


สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน




ตัวอย่าง

  การเขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการลาป่วยหากจะลางาน





วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 2 การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศมี4ขั้นตอน                                                      
1.)การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา 
1.1) สิ่งที่โจทย์ต้องการ ได้แก่ การวิเคราะห์จากโจทย์ว่าสิ่งที่โจทย์ต้องการนั้นคืออะไรสามารถแยกได้
1.2) การระบุข้อมูลที่ต้องส่งออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายสิ่งที่ต้องหาคำตอบ                            
 1.3) การระบุข้อมูลนำเข้า ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา                        
1.4) การกำหนดตัวแปร ได้แก่ ตัวเก็บค่าต่างๆ ในการทำงาน                                           

1.5) การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบ            
 2)การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี 
 เป็นขั้นตอนการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน หลังจากที่ทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาข้อมูล เงื่อนไขที่มีอยู่และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่1แล้ว จะสามารถคาดคะเนวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก หากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาในลักษณะนี้มาแล้ว จะสามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา           
3) การดำเนินการแก้ปัญหา
 เป็นขั้นตอนแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้ เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จ หรือการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรม ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ผู้แก้ปัญหาจึ่งต้องศึกษาให้เข้าใจ มีความรู้ความสามารถในการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดีละในคณะดำเนินการ หากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม                                                          
4) การตรวจสอบและการปรับปรุง
 เป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา เช่น ข้อมูลรับเข้า ข้อมูลส่งออก หรือไม่ เพื่อให้มั่นได้ว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในกรณีที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

My Profile

MY Profile

Name : Hana Katsumoto       Nickname : Hana
Age     : 15 yearsold              No.23   blood : O
Birth   :  12/7/2002                M.5/2   
School : Assumption College Rayong      
Favorite    :  Blue and Green color , Commic, Drawing a picture
Favorite Subject  : Animetor
Dislike      :  worm
Facebook  : HanaKatsumoto
Pixiv         : Hana
Skye,Garena : norigotgi
Address : 39/25 Petcharatlekvill Muang Tupma Moo.1 21000

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 1 กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ความหมายและขั้นตอนของการแก้ไขปัญหา
ตอบ 
ความหมายขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น 

ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา
ตอบ
1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา  (State The Problem)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหาแต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไปจุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผลกล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์
2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools And Algorithm Development) 
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วนหลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่และสิ่งที่ต้องการหาในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
3) การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation)  
หลังจากที่ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้วขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ ปัญหาขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้
4) การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) 
หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องโดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหาซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้าและข้อมูลออกเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณีอย่างถูกต้องสมบูรณ์ขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

2.ยกตัวอย่างปัญหา 1 ปัญหาพร้อมวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
ตอบ
ปัญหาที่ต้องการแก้ไข : ไม่มีเวลาทำการบ้านหลังเลิกเรียน
ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา
1. ตั้งปัญหาปัญหาที่ต้องการแก้ไขคือ ไม่มีเวลาทำการบ้าน
2. เลือกเครื่องมือวิธีและออกแบบวิธีโดย
2.1 จัดทำตารางเวลากิจกรรม
2.2 กำหนดการแบ่งและบริหารเวลา
2.3 ทำการบ้านที่โรงเรียนยามว่าง
3.ดำเนินงานปฏิบัติการตามตารางเวลาที่ได้ออกแบบไว้
4.ตรวจสอบและปรับปรุงงาน ดูผลที่ได้แล้วนำมาเพิ่มเติมหรือแก้ไขว่า การแก้ปัญหานี้สามารถทำไห้เรามีเวลาทำการบ้านหรือไม่ ผลทำให้มีเวลาทำการบ้าน

ใบงานที่ 2 เรื่องตัวอย่างโครงงาน

ตัวอย่างโครงงาน 1.ชื่อโครงการ : โครงงานการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ 2. ประเภทของโครงงาน : โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อก...